เข้าสู่โลก internet of things (IOTs)กันแล้ว พลาดไม่ได้เลยกับอุปกรณ์ทันสมัยตัวใหม่มาแรงอย่าง NODE MCU ESP8266 ที่ถูกออกแบบมาในลักษณะมีชิฟWIFIในตัวทั้ง 2 เวอร์ชั่นที่ออกมา
Node MCU ESP8266 (V1)
Node MCU ESP8266 (V2)
หรือในบางกลุ่มผู้สนใจอาจเรียกบอร์ดตัวนี้ว่า NODE MCU LUA WIFI เพราะทางผู้ผลิตบอร์ดเริ่มต้นได้ใส่Node MCU Firmwareให้สามารถเขียนภาษา LUA ลงไปได้ ทำให้การใช้งานง่ายมากขึ้น แต่ก็ได้มีกลุ่มนักพัฒนาต่อทำให้ NODE MCU ESP8266 ตัวนี้สามารถมาใช้ร่วมกับ ARDUINO IDE ได้จึงได้มีการพัฒนาต่อให้สามารถเขียนในภาษา C++ ซึ่งพลอยเองได้มาลองเริ่มเล่น หลังจากที่บอร์ด NODE MCU ESP8266นี้มีการพัฒนาบน ARDUINO IDEเรียบร้อยแล้ว หากเป็นผู้ที่นิยมเล่นไมโครคอนโทรลเลอร์อยู่ก่อนจะนิยมเล่นเป็นภาษา C/C++ ซึ่งภาษานี้สามารถไปได้กว้างเล่นได้หลายอย่างกว่า LUA
ข้อดีของบอร์ดโดยพื้นฐานFirmware
- Software และ Firmware เป็นแบบ open source และมีSource codeให้ได้เรียนรู้อยู่บน Github
ตามลิงค์ https://github.com/esp8266/Arduino
- การเชื่อมต่อบอร์ด USB กับคอมพิวเตอร์ใช้งานง่าย มีขา I/O ไว้เชื่อมต่อกับ protoboard
- ชิบภายใน ESP 8266 มี CPUขนาด 32 bit แตกต่างจากArduinoทั่วไปที่นิยมกันซึ่งมีCPU 8 bit
- ถึงแม้ขา I/O จะไม่มากเท่าของArduino แต่เราสามารถเขียนโปรแกรมลงบนขาGPIOได้ทุกขาพอๆกัน เป็นข้อดีที่เพิ่มมาจากความต้องการใช้WIFIเชื่อมต่อเมื่อต้องการเล่นArduinoทำให้ต้องซื้อModule wifi เพิ่ม นั่นคือ NODE MCU ESP8266 มีต้นทุนต่ำกว่ามาก
- มีอุกรณ์หลายอย่างที่ใช้งานที่แรงดัน +3.3 V เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเราสามารถนำ NODE MCU ESP8266 มาใช้เชื่อมต่อได้โดยตรง
ความแตกต่างระหว่าง V1 vs V2
- NODE MCU ESP8266 (V2) มีลักษณะยาวขึ้นแต่แคบลง สามารถเสียบลงบนprotoboardได้
- ชิฟแปลงUSBเข้าคอมของV1เป็น CH340 แต่ของV2เป็นCP2102
- NODE MCU ESP8266 (V2) มีลักษณะยาวขึ้นแต่แคบลง สามารถเสียบลงบนprotoboardได้
- ชิฟแปลงUSBเข้าคอมของV1เป็น CH340 แต่ของV2เป็นCP2102